เครื่องปรุง
- แป้งสาลี 250 กรัม
- น้ำ 210 มิลลิลิตร
- ไข่ไก่ 4 ฟอง
- กิมจิ 150 กรัม
- กุ้งลวกตัวเล็ก 100 กรัม
- ปูอัด 100 กรัม
- น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ในชามผสมผสมแป้งสาลี น้ำ ไข่ กิมจิ กุ้งลวก ปูอัด ตีให้เข้ากัน
2.นำกระทะโตชิบาเปิดไฟให้ร้อน ใส่น้ำมันลง แล้วนำส่วนผสมที่ผสมไว้เทลงไปทอดในกระทะ ประมาณ
4-5 นาทีหรือจนกระทั่งเหลืองกรอบดี แล้วนำตะหลิวแบนกลับด้านอีกข้างเพื่อทอดให้สุกทั้งสองด้าน
3.ตักจัดใส่จาน เสิร์ฟกับน้ำจิ้มแบบเกาหลี
น้ำจิ้มแบบเกาหลี
เครื่องปรุง
- ซีอิ๊วคินซัน 5 ช้อนโต๊ะ
- น้ำส้มสายชู 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาล 1 ช้อนชา
- พริกป่นแบบละเอียด 2 ช้อนชา
- งาคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
ในชามผสมนำส่วนผสมทั้งหมดผสมรวมให้เข้ากัน ใส่ถ้วยเสิร์ฟพร้อมพิซซ่าเกาหลี
วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552
"พิซซ่าเกาหลี"
เขียนโดย "ลูกชายสุดหล่อมีนามว่า MOJO" ที่ 02:58 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: "พิซซ่าเกาหลี"
"อาหารชะลอตาเสื่อม"
"ดวงตา" จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนอย่างมาก ปัจจัยที่กระตุ้นให้ตาเสื่อมเร็วขึ้นคือ อายุ สิ่งแวดล้อม อาหารการกินและโรคบางชนิดที่เช่นเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีภัยรอบๆตัวเราแสงอัลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดเป็นแหล่งของอนุมูลอิสระที่ทำลายตาของเรา เป็นสาเหตุของต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม(macula degeneration) ซึ่งนำไปสู่สาเหตุของตาบอดในผู้สูงอายุในวัย 65 ปีขึ้นไป นอกจากแสงแดดแล้ว บุหรี่ และอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์ (สารต้านอนุมูลอิสระ)ต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ปัจจัยดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการใช้แว่นตากันแสงยูวี หรือสวมหมวกป้องกันแสงแดดไม่ให้ทำลายดวงตา เลิกบุหรี่ หรือเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่ และบริโภคอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงๆโรคของตาต้อกระจก โรคต้อกระจกเกิดจากโปรตีนในเลนส์ตาสลายตัวหรือเส้นใยของเลนส์ตาเกิดความเสื่อม ทำให้เลนส์ขุ่นมัวขึ้น แสงผ่านได้น้อย ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้ตาบอดได้โรคจอประสาทตาส่วนกลางเสื่อม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุตาบอด ตัวจอประสาทตาส่วนกลางอยู่ในใจกลางของเรตินา (retina) ซึ่งเป็นจอรับภาพ เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของตาที่ทำให้คนเราสามารถแยกแยะความละเอียดของสิ่งที่มองได้ เรตินายังเป็นส่วนที่สัมผัสกับออกซิเจนในร่างกายมากที่สุด และนอกจากนี้ในเรตินายังมีไขมันในปริมาณสูงทำให้ง่ายต่อการเกิดอนุมูลอิสระ จึงทำให้จอประสาทตาส่วนกลางเสื่อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่รวมภาพ ในที่สุดจะทำให้ตามัว ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้ตาบอดในที่สุดอาหารชะลอตาเสื่อมอาหารประเภทผักและผลไม้มีสารอาหารที่ช่วยรักษาสุขภาพของดวงตาและลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเลนส์ตาคือ สารแอนติออกซิแดนท์ (วิตามินซี อี เบตาแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทิน สังกะสี และสารไบโอเฟลโวนอยด์) รวมทั้งไรโบเฟลวิน
- วิตามินอี ช่วยป้องกันปฏิกริยาการสลายตัวของกรดไขมันที่อยู่รอบ ๆ เลนส์ตา คนที่มีระดับวิตามินอีในเลือดสูงอาจลดความเสี่ยงการเกิดต้องกระจกถึง50%
- อาหารที่มีวิตามินซี
สูงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้ วิตามินซีจะช่วยขจัดโปรตีนส่วนที่ถูกทำลายจากเลนส์ของดวงตา ป้องกันไม่ให้เกิดต้อกระจก คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยการทำงานของวิตามินอี และแคโรทีนอยด์ด้วย ดังนั้นในแต่ละวันจึงควรรับประทานวิตามินซีให้ได้ 300 มิลลิกรัมขึ้นไป ซึ่งวิตามินซีในปริมาณนี้หารับประทานจากอาหารประจำวันได้ไม่ยาก
- แคโรทีนอยด์ (Carotenoid)
ประกอบไปด้วยเบต้าแคโรทีน ลูทีน (lutein) และซีแซนทิน (zeaxanthin) ไลโคพีน ทั้งหมดนี้ช่วยป้องกันเลนส์ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระเช่นกัน
- เบตาแคโรทีน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการมองเห็นในที่มืด เบตาแคโรทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพตา ช่วยบำรุงรักษาดวงตา และป้องกันโรคตาหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคตาบอดกลางคืน และยังช่วยให้ผิวเยื่อเมือกในส่วนต่างๆของร่างกายชุ่มชื้นขึ้นอีกด้วย
- ลูทีน และซีแซนทิน
เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่มีสีเหลือง พบมากในพืชผักที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ผักบุ้ง ผักกาดเขียว ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม ลูทีนและซีแซนทินเป็นสารธรรมชาติที่พบมากในตาบริเวณจุดรับภาพและจอประสาทตา ทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดและกรองแสงสีน้ำเงินที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายดวงตา ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายดวงตา ร่างกายจำเป็นที่จะต้องได้รับสารลูทีนจากอาหาร แต่สารซีแซนทินนอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารลูทีนในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ ดังนั้นผู้ที่บริโภคผักผลไม้หลายหลายสีมากเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
อย่างไรก็ตามการวิจัยยังพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระประเภทวิตามินซี อี และแคโรทีนอยด์ ในอาหารธรรมชาติให้ผลที่ดีกว่าการใช้วิตามินทั้ง 3 เสริม ดังนั้นนักวิจัยจึงแนะให้บริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อรีบสะสมสารต้านอนุมูลอิสระเสียแต่เนิ่น ๆ จะป้องกันอันตรายจากโรคตาเสื่อมตามวัยได้
- ไบโอเฟลโวนอยด์
พบมากในบูลเบอร์รีหรือบิลเบอร์รี องุ่นแดง ส้ม และแครนเบอร์รี ไบโอเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระคือสารแอนโธไซยานิดิน ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระทำอันตรายให้กับเลนส์ตาและสร้างความแข็งแรงให้กับสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างบริเวณกระจกตา (Cornea) และเส้นเลือดฝอยในตา ปัจจุบันสารสกัดบิลเบอร์รีได้รับความนิยมมากรองจากลูทีน นอกจากจะช่วยป้องกันเลนส์ตาแล้วยังช่วยให้มองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงสลัวๆ ได้ชันเจน บิลเบอร์รีหรือบลูเบอร์รีสดวันละ 1/2 - 1 ถ้วยตวง ให้สารแอนโธไซยานิดินเท่ากับที่ร่างกายต้องการในการรักษาสุขภาพตา
- ไรโบเฟลวิน
เป็นวิตามินบีตัวหนึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ขณะเดียวกันก็ต้องระวังการเสริมไรโบเฟลวินมากเกินกำหนดแทนที่จะช่วยกลับจะเป็นอันตรายต่อตาได้ เพราะจะเพิ่มความไวของดวงตาต่อการถูกทำลายด้วยแสงแดดได้- แร่ธาตุสังกะสี อาหารที่มีธาตุสังกะสีสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ อาจมีผลในการป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตาได้เช่นกัน
- ระวังอาหารรสเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงโซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือแกง อาหารที่มีโซเดียมสูงนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูงแล้วยังอาจมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจกได้ ระดับโซเดียมที่ต่ำในลูกตาจะป้องกันเลนส์ตาขุ่นฝ้า การรับประทานอาหารเค็มจัดจะทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินควรจึงทำให้เกิดปัญหาการรักษาระดับโซเดียมในตาปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่จะทำลายเลนส์ตาและทำให้จอประสาทตาเสื่อมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคผักและผลไม้อย่างหลากหลายเป็นประจำทุกวันนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้แน่นอนกว่าการเสริมวิตามินแล้วยังช่วยในการรักษาสุขภาพกายด้านอื่นๆ ป้องกันโรคเรื้อรังไม่ติดต่อมากมาย
เขียนโดย "ลูกชายสุดหล่อมีนามว่า MOJO" ที่ 01:49 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: "อาหารชะลอตาเสื่อม"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)